โครงสร้าง ไม่ว่าจะเป็น เสา คาน เพดาน พื้น คือส่วนประกอบของบ้านที่หากเกิดการซ่อมแซมจะเป็นการจัดหนักจนกระเป๋าแฟบได้ง่ายๆ เนื่องจากเป็นการซ่อมที่จุดกำเนิดของบ้าน การตรวจสอบและซ่อมแซมก่อนหรือหรือบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย รอยร้าวมีหลายประเภท เกิดได้ในหลายตำแหน่ง และให้ผลกับตัวบ้านแตกต่างกัน รอยแบบไหนกันนะ ที่อันตราย ตามมาดูกันเลยค่ะ
1.รอยเฉียงที่มุมวงกบประตู รอยร้าวบริเวณนี้มักเกิดจากปูนที่ฉาบไว้ เพราะวงกบประตูหน้าต่างส่วนใหญ่ใช้ไม้เป็นวัสดุ ซึ่งจะยืดและหดตัวเมื่ออุณหภูมิและความชื้นเปลี่ยนแปลง ถือเป็นรอยร้าวที่ไม่อันตราย วิธีซ่อมแซม หากเป็นรอยเล็กสามารถใช้วัสดุยาร่อง เช่น ซิลิโคน อะคริลิค ที่มีความยืดหยุ่นไปอัดฉีด แต่หากรอยมีขนาดใหญ่ก็ต้องใช้ปูนชนิดไม่ยืดไม่หดตัวมาอุดแล้วฉาบปูนใหม่ ไม่ควรใช้ปูนทรายธรรมดา เพราะมีโอกาสหดตัว
2.รอยแตกลายงาบนผนัง เกิดจากการผสมปูนฉาบผนังไม่ได้สัดส่วน หรือผนังมีการหดตัวเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงเป็นเวลาติดต่อกันนานๆ จนทำให้เนื้อปูนฉาบร้าว รอยแตกประเภทนี้ไม่มีอันตราย วิธีซ่อมแซม ก่อนอื่นต้องหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไรกันแน่ด้วยการลองเคาะผนังบริเวณนั้น เสียงกลวง แสดงว่าปูนฉาบไม่เกาะผนังและมีโอกาสหลุดร่วงลงมาในอนาคต ให้สกัดเอาผิวปูนฉาบเดิมออก แล้วฉาบใหม่ทับลงไป ไม่ควรผสมปูนซีเมนต์ไล้บางๆ เพราะปูนมีโอกาสหลุดร่วงลงมาในที่สุด เสียงโปร่งแต่ทึบ แปลว่าปูนยังเกาะกับผนังดี ให้ทาสีทับ
3.รอยดิ่งขึ้นลงบนผนัง เกิดจากการแอ่นตัวของพื้นและคานที่รองรับน้ำหนักมากเกินไป หากพบรอยร้าวลักษณะนี้ควรรีบเคลื่อนย้ายของหนักออกจากบริเวณใกล้เคียง เพราะรอยแตกประเภทนี้ถือว่ามีอันตราย
4.รอยแทยงบนผนัง เกิดจากการทรุดตัวของฐานรากหรือเสาบ้านในบริเวณนั้นบ่งบอกถึงความไม่แข็งแรงของโครงสร้าง รอยประเภทนี้อันตรายมาก
5.รอยรูปกากบาทและรอยกลางพื้น เกิดจากการรับน้ำหนักไม่ไหวและกำลังจะพังทลายของพื้น อันตรายมาก ควรยู่ให้ห่าง
****รอยแบบที่ 3 -5 เป็นรอยร้าวที่อันตรายมาก ไม่สามารถซ่อมด้วยปูนได้ ควรปรึกษาวิศวกรเพื่อเสริมความแข็งแรงของโครงสร้าง
8 จุดส่งสัญญาณ อันตรายจากรอยร้าว สังเกตได้ด้วยตัวเราเอง
1. รอยร้าวผนังชั้นล่าง ร้าวทำมุม 45 องศากับพื้น เป็นรอยร้าวที่อาจเกิดจากการทรุดตัวของฐานรากหรือเสาบ้านที่อยู่ใกล้กับผนังบริเวณนั้น ซึ่งเป็นลักษณะรอยร้าวที่บ่งบอกถึงอันตรายในความแข็งแรงของโครงสร้างบ้าน หากพบรอยร้าวทแยงมุมบนผนัง
2. รอยร้าวกว้างตั้งแต่ 0.5 มม.ขึ้นไป
3. รอยร้าวกว้างขยายมากขึ้นเรื่อย ๆ ยาวมากขึ้นเรื่อย ๆ
4. ประตูหน้าต่างเริ่มปิดไม่เข้า
5. มีเศษปูนร่วงหล่น จากเสาคานและพื้น
6. ระบบท่อน้ำประปาเริ่มแตก ชำรุดเสียหาย
7. มองดูลักษณะอาคารเอียง ๆ
8. มีเสียงลั่นของอาคารเป็นบางครั้ง โดยเฉพาะเวลากลางคืน หากพบรอยร้าวที่มีอาการทั้ง 8 ข้อข้างบน ก็อย่าได้วางใจค่ะ ให้เรียกวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ มาช่วยตรวจสอบเพื่อทำการแก้ไข และป้องกันอันตายที่จะเกิดขึ้นกับบ้านโดยด่วนเลย
ด้วยความปรารถนาดีจาก กรุงศรีพาณิชย์ นะคะ