ลวดมัดเหล็ก สิ่งเล็กๆที่ไม่มีในรายการคำนวณ

“เหล็กเส้น 1 ตัน ใช้ลวดมัดเหล็ก 22 กิโลกรัม”

ลวดผูกเหล็ก เป็นลวดที่ใช้ในการมัดเหล็กเส้นในงานคอนกรีต เพื่อให้อยู่เป็นรูปตะแกรงพื้นอยู่ได้ หรือมัดให้อยู่ในรูปคานหรือเสาได้ ตามมาตรฐาน มอก. 138-2518 กำหนดให้เป็นลวดเบอร์ 18 หรือมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลวด 1.25 มิลลิเมตร

การผลิตลวด จะเป็นการนำเอาเหล็กเส้นไปเข้าเครื่องรีดให้มีขนาดเล็กตามที่กำหนด แล้วผ่านเข้าไปในเตาอบความร้อนสูง อบที่อุณหภูมิประมาณ 700 องศาเซลเซียส จนถึงจุดหลอม เพื่อทำให้ลวดมีความอ่อนนิ่ม มีคุณสมบัติเหมาะสำหรับนำไปใช้ในการผูกเหล็กเส้น

ลวดผูกเหล็ก แม้ว่าจะดูเป็นส่วนประกอบเล็กๆ แต่มีความสำคัญอย่างมากในงาน คอนกรีตเสริมเหล็ก

ลวดผูกเหล็ก เป็นเหล็กสำหรับใช้ในการก่อสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยใช้สำหรับผูกเหล็กที่เสริมในโครงสร้างคอนกรีตเข้าด้วยกัน เช่น เหล็กปลอกในคานหรือในเสา เหล็กเสริมพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กชนิดนี้ ใช้กันมากในการก่อสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ลวดเหล็กมักใช้เหล็กกล้าริมด์ ซึ่งขั้นแรกจะรีดให้เล็กลงเหลือเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 มม. ต่อมาจึงดึงเย็นให้ยึดเป็นลวดเหล็กตามที่ต้องการ ถ้าต้องการใช้ ก็จะนำไปอบให้อ่อนตัวได้ตามความประสงค์ ปริมาณของคาร์บอนของเหล็กชนิดนี้จะถูกรักษาไว้เพียง 0.12% แมงกานีส 0.4% ส่วนฟอสฟอรัส และกำมะถัน ไม่มี

โรงงานผู้ผลิตจะดึงลวดดังกล่าวให้เล็กลงจนถึงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.24 มม. สำหรับใช้ผูกเหล็กเสริมตามคอนกรีต ทำเป็นขดๆ จำหน่ายเป็นราคาต่อน้ำหนักของลวด

ลวดผูกเหล็กควรมีคุณสมบัติดังนี้

1. ความเค้นดึงประลัย ไม่ต่ำกว่า 150-170 กก./ตร.มม. แล้วแต่ว่าลวดนั้นจะใช้ในงานคอนกรีตอัดแรงก่อนหรืออัดแรงทีหลัง

2. จุดยืดไม่ต่ำกว่า 130-150 กก./ตร.มม. เมื่อลวดถูกดึงถึงจุดยึด และปลดน้ำหนักบรรทุกออกหมดในภายหลัง เส้นลวดจะต้องแสดงความยืดตัว ไม่เกิน 0.2%

3. ความยืดเมื่อดึงขาด ไม่ควรน้อยกว่า 3%

4. ความเค้น ที่อนุญาตให้ใช้เป็น 70-75% ของแรงดึงประลัย


ขอบคุณข้อมูลจาก : skoncivil.wordpress.com