กระบวนการผลิตปูนคอนกรีตผสมเสร็จ (Ready Mixed Concrete)

คอนกรีต เป็นวัสดุผสมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในงานก่อสร้าง โดยเฉพาะคอนกรีตผสมเสร็จที่มาพร้อมใช้งานในรถผสมปูน นิตยสารเพื่อนวิศวกรฉบับนี้จึงขอนำเสนอกระบวนการผสมคอนกรีตมาให้ผู้อ่านได้ รับทราบกัน ส่วนผสมหลักของคอนกรีตประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ปูนซีเมนต์ วัสดุผสม (หิน ทราย หรือ กรวด) และ น้ำ ในกระบวนการนี้วัตถุดิบทั้ง 3 ชนิดจะถูกนำมาผสมเข้าด้วยกัน และเมื่อผสมเสร็จวัตถุดิบจะทำปฏิกิริยาเคมีเข้าด้วยกันซึ่งจะทำให้คอนกรีต แข็งตัวขึ้นอย่างช้าๆ ความแข็งแรงของคอนกรีตจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลังจากที่ผสมเสร็จ หลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวจากของเหลวไปเป็นของแข็งแล้ว ความแข็งแรงของคอนกรีตยังคงเพิ่มขึ้นอยู่ โดยประมาณหลังจากแข็งตัวแล้ว 28 วัน ความแข็งแรงจึงจะอยู่ที่จุดสูงสุดและคงที่

วัสดุที่ใช้ผสมคอนกรีต

1. ปูนซีเมนต์ : ปูนซีเมนต์ที่ใช้ในงานก่อสร้างต้องเป็นปูนซีเมนต์ที่บรรจุถุงเรียบร้อยตาม มาตรฐาน ม.อ.ก. หรือเป็นปูนซีเมนต์ที่เก็บในภาชนะบรรจุของบริษัทผู้ผลิตห้ามใช้ปูนซีเมนต์ เสื่อมคุณภาพ เช่น ปูนซีเมนต์ซึ่งแข็งตัวจับกันเป็นก้อน เป็นต้น

2. มวลรวมแบบละเอียด : ส่วนมากจะเป็นทราย ทรายที่ใช้ผสมคอนกรีตจะต้องมีความละเอียดที่พอดี โดยมี Fineness Modulus (เป็นตัวบ่งบอกความละเอียดของทรายนั้น) ระหว่าง 2.3 และ 3.1 ถ้าน้อยกว่า 2.3 จะเป็นลักษณะทรายที่สะอาดและละเอียดมากเกินไป

3. มวลรวมแบบหยาบ : ธรรมดาเราใช้ทั้งหินย่อยและกรวดเป็นมวลรวมหยาบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความยากง่ายในการหาวัสดุ ปกติจะระบุไว้ในข้อกำหนด (Specification) ว่าให้ใช้แบบใด ซึ่งทางผู้ผลิตจะต้องคอยตรวจคุณภาพของวัสดุที่ส่งเข้ามาอย่างสม่ำเสมอเพราะ อาจไม่ใช่วัสดุจากแหล่งเดียวกัน และอาจมีสิ่งแปลกปลอมปนมาได้ เช่น หินผุ หรือหินอื่นๆ ที่มีคุณภาพด้อยกว่าที่กำหนด

4. น้ำ : ต้องเป็นน้ำสะอาด ซึ่งโดยมากส่วนใหญ่จะใช้น้ำประปาและอาจจะต้องมีการกรองเอาสิ่งสกปรกออกใน กรณีที่ไม่สามารถหาน้ำที่สะอาดได้ แล้วจำเป็นต้องใช้น้ำที่ขุ่นในการผสมคอนกรีต จะมีเทคนิคในการทำน้ำให้ใสขึ้นดังนี้ เทปูนซีเมนต์ 1 ลิตร ลงไปในน้ำขุ่น 200 ลิตร ทิ้งไว้ 5 นาที เพื่อให้สิ่งสกปรกตกตะกอนแล้วจึงสูบน้ำที่ใสแล้วจากด้านบนหมดมาใช้ได้ แต่ทั้งนี้น้ำควรจะผ่านการทดสอบคุณสมบัติอื่นๆ ก่อนนำมาใช้

5. สารผสมชนิดอื่นๆ : สารเหล่านี้ใช้เพื่อปรับคุณสมบัติของคอนกรีต เช่น สารเพิ่มความแข็งแรง สารเพิ่มความยืดหยุ่นของคอนกรีต เป็นต้น

คอนกรีตผสมเสร็จ ( Ready Mixed Concrete)

      ปัจจุบัน นี้สถานที่ก่อสร้างแต่ละที่นิยมใช้คอนกรีตผสมเสร็จแทนการผสมคอนกรีตเองที่ไซ ต์งาน เนื่องจากสะดวกสะดวก รวดเร็ว และสามารถควบคุมคุณภาพของส่วนผสมได้ ทำให้ได้คอนกรีตที่มีคุณภาพตามกำหนด ทั้งยังไม่ต้องเสียพื้นที่ในการเก็บวัสดุสำหรับผสมคอนกรีต ( ปูนซีเมนต์ ทราย และหิน) อีกด้วย ทั้งยังไม่จำเป็นต้องมีแหล่งน้ำที่สะอาดเพื่อที่จะให้ได้คอนกรีตตามที่ต้อง การ นอกจากนั้นเปอร์เซ็นต์การสูญเสียคอนกรีตในระหว่างการผสมลำเลียง และเทย่อมลดน้อยลงด้วย อีกทั้งบริเวณที่ก่อสร้างก็จะสะอาดไม่เลอะเทอะ

      คอนกรีตผสมเสร็จมักจะขนส่งมาแบบเป็นคันรถแล้วใช้วิธีการปั๊มหรือเทตามจุดที่ต้องการ

      อย่างไรก็ดีผู้ควบคุมงานไม่ควรประมาทว่าเป็นคอนกรีตผสมเสร็จแล้วจะต้องดีเสมอไป เพราะหากผู้รับเหมาก่อสร้างขาดความรู้ทางด้านเทคโนโลยีคอนกรีต ก็อาจสั่งการผิด ๆ ได้ เช่น กรณีที่เกิดความล่าช้าในการขนส่งคอนกรีตที่ผสมเสร็จแล้วขณะที่คอนกรีตมาถึง ไซต์งานก่อสร้างอาจจะเป็นไปได้ว่าน้ำระเหยไปมากแล้วจนคอนกรีตมีการแข็งตัว ทำให้ส่วนผสมไม่เป็นไปตามที่ต้องการ ทางผู้รับเหมาอาจจะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าโดยการเทน้ำลงไปผสมเพื่อให้คอนกรีต ใช้งานได้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อันจะเป็นเหตุให้คอนกรีตมีกำลังต่ำได้

      ในบางกรณีที่ต้องการใช้คอนกรีตปริมาณมากในการก่อสร้าง จะมีความจำเป็นต้องใช้คอนกรีตจากผู้ผลิตหลายแห่งในเวลาเดียวกัน ซึ่งถ้าหากสื่อสารกันไม่ดีอาจเกิดความเข้าใจผิดได้ มีกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นในไซต์งานหนึ่ง คอนกรีตที่ส่งมาจากหลายผู้ผลิตมีคุณสมบัติที่เรียกว่า Crushing Strength ต่างกัน เมื่อนำมาใช้ในงานเดียวกันจะทำให้คอนกรีตที่ใช้ไปนั้นเกิดความเสียหายอย่าง มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผู้ควบคุมงานไม่รอบคอบพอ ไม่ได้ตรวจสอบ ปล่อยให้เทคอนกรีตที่มีกำลังและคุณภาพต่างกันผสมกันลงไป จะทำให้คุณภาพของคอนกรีตที่แข็งตัวแล้วนั้นไม่เป็นไปตามที่ต้องการ สุดท้ายแล้วอาจจะต้องทุบออกทั้งหมด จึงเป็นการเสียเวลาและเงินทองเป็นจำนวนมาก ฉะนั้นกรณีเช่นนี้ผู้ควบคุมงานจะต้องเอาใจใส่เป็นกรณีพิเศษ

คุณลักษณะเด่นของคอนกรีตผสมเสร็จ

1. วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตคอนกรีตมีคุณภาพตรงตามมาตรฐานงานก่อสร้าง

2. โรงงานคอนกรีตผสมเสร็จได้นำเทคโนโลยีมา พัฒนากระบวนการผลิตทำให้สามารถผลิตคอนกรีตได้ตั้งแต่ 30 -150 ลบ.ม./ชั่วโมง ซึ่งสามารถช่วยให้งานเทคอนกรีตดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว และลดจำนวนคนงานที่ใช้ในการผสมคอนกรีตและเทคอนกรีตลง

3. แก้ปัญหางาน ก่อสร้างที่มีบริเวณงานก่อสร้างจำกัด ไม่สามารถวางหรือเก็บกองหิน ทราย ได้ หรือในงานก่อสร้างที่จะต้องเปลี่ยนสถานที่ที่เทคอนกรีตตลอดเวลา เช่น งานถนน งานคลองส่งน้ำ เป็นต้น

4. แก้ปัญหางานก่อสร้างที่ต้องการใช้คอนกรีต ปริมาณครั้งละมาก ๆ หรืองานที่ต้องการใช้คอนกรีตเป็นระยะเวลาห่าง ๆ กันซึ่งไม่คุ้มกับการลงทุนซื้อวัสดุผสมมาเก็บไว้ใช้งานเอง

5. ในงานก่อสร้างที่อัตราเทคอนกรีตค่อนข้างช้าสามารถแก้ไขได้โดยการเติมน้ำยาผสมคอนกรีตที่มีคุณลักษณะยืดระยะเวลาการก่อตัวของคอนกรีต

6. คอนกรีต ผสมเสร็จจะมีราคาแพงกว่า คอนกรีตผสมเองอยู่บ้างเล็กน้อย แต่สามารถทดแทนด้วยคุณภาพของคอนกรีตที่ดีและสม่ำเสมอ และที่สำคัญคือประหยัดเวลาในการก่อสร้าง

7. ผู้ผลิตมีหน้าที่ที่จะต้องรับรองคุณภาพของคอนกรีตผสมเสร็จด้วยการทดสอบภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด

      ส่วนผสมหลักของคอนกรีตประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ปูนซีเมนต์ วัสดุผสม (หิน ทราย หรือ กรวด) และ น้ำ ในกระบวนการนี้วัตถุดิบทั้ง 3 ชนิดจะถูกนำมาผสมเข้าด้วยกัน และเมื่อผสมเสร็จวัตถุดิบจะทำปฏิกิริยาเคมีเข้าด้วยกันซึ่งจะทำให้คอนกรีต แข็งตัวขึ้นอย่างช้าๆ ความแข็งแรงของคอนกรีตจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลังจากที่ผสมเสร็จ

      หลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวจากของเหลวไปเป็นของแข็งแล้ว ความแข็งแรงของคอนกรีตยังคงเพิ่มขึ้นอยู่ โดยประมาณหลังจากแข็งตัวแล้ว 28 วัน ความแข็งแรงจึงจะอยู่ที่จุดสูงสุดและคงที่


ข้อมูลและภาพประกอบ : http://www.engineerfriend.com/2011/articles/ready-mix-concrete